top of page

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย : จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม )

ที่มาของข้อมูลทั้งหมดของ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย

=>  www.Bangkokshow.com 

  ความหมายของ " บำบัดน้ำเสีย "

สำหรับความหมายของ บำบัดน้ำเสีย คือ การแยก การกำจัด การทำลาย การย่อยสลายของเสียสิ่งสกปรกต่างๆที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์แร่ธาตุต่างๆที่เจือปนและปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียนั้นๆออกจากน้ำเสียเพื่อเปลี่ยนให้เป็นน้ำดี โดยใช้กรรมวิธีต่างๆเข้ามาบำบัด เช่น การตกตะกอน การองกรองหยาบ การกรองละเอียด การใช้เคมีบำบัด(กรณีที่เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน)และการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย เป็นต้น

ความหมายของ " จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย "

สำหรับความหมายของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ซึ่งมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ แต่อยู่แบบกระจัดกระจายไม่เป็นกลุ่มก้อน

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( Waste Water Treatment Bacteria ) คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆที่ไม่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียก็ไม่จัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เพราะไม่สามารถย่อยสลายของเสียได้ จุลินทรีย์ที่จะบำบัดน้ำเสียได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ได้เท่านั้น สำหรับจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในโลกใบนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน  ซึ่งมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) มีอยู่แบบกระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ

จุลินทรีย์ที่จะใช้ในการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)  

สำหรับจุลินทรีย์ที่จะใช้ในการบำบัดน้ำเสียนั้น จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยด้วยกันตามลักษณะการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาดังต่อไปนี้ .-

1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ชนิดที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic  Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขาดออกซิเจนไม่ได้ ต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ รวมถึงใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่นิยมใช้มากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียแทบจะทุกๆระบบบำบัด  เพราะสามารถดึงจากธรรมชาติมาใช้งานง่าย เพียงออกแบบระบบต่างๆและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการดำรงชีพ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ทำงานย่อยสลายให้ตามที่ต้องการ แต่ก็มีข้อจำกัดและเงื่อนไขหลายอย่างที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ เช่น อุณหภูมิพอเหมาะ  ค่า pH ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ( เจริญเติบโตได้ดีในช่วงค่า pH 6 -8 ) ถ้าต่ำมากๆหรือสูงมากๆจะทำให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ทันที หรือกรณีค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียมีน้อย ( ค่า DO ต่ำ ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะดำรงชีพอยู่ไม่ได้ เพราะขาดออกซิเจนไม่ได้ จุลินทรีย์ตายยกบ่อบำบัดได้ถ้าขาดออกซิเจน บ่อบำบัดที่ส่งกลิ่นเน่าเหม็นก็มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ย่อยสลายตายหรือมีปริมาณน้อยมาก ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทันของเสียจึงล้นระบบส่งกลิ่นเน่าเหม็นดังกล่าว

2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( Anaerobic  Bacteria ) ซึ่งก็มีหลากหลายสายพันธุ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนเหมือนกลุ่มแรก ทำปฏิกิริยาย่อยสลายได้ทั้งในสภาวะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนก็ได้ สามารถทำงานย่อยสลายร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ การดึงมาใช้งานบำบัดน้ำเสียทำได้ค่อนข้างยาก ถึงแม้ในระบบจะมีจุลินทรีย์กลุ่มนี้ แต่มีปริมาณน้อย จะไม่เหมือนกลุ่มแรกที่สามารถดึงมาใช้งานได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องมีการสังเคราะห์จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้ขึ้นในห้องปฏิบัติการ  ข้อดีของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ มีความทนทานหรือต้านทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ดีกว่ากลุ่มแรก ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่วิกฤตได้  

กลุ่มจุลินทรีย์ที่จะแปรสภาพย่อยสลายของเสียต่างๆทั้งหลายทั้งปวง ต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ( ทั้งกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มที่ 1+กลุ่มที่ 2 )  จะเห็นได้ว่าระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ ( ทุกๆระบบ ) ออกแบบเพื่อรองรับการดึงออกซิเจนเข้าไปเติมในระบบบำบัด ( เติมในบ่อบำบัด ) เพื่อต้องการให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักมารวมกลุ่มเจริญเติบโตขยายเซลล์ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายยิ่งมาก ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียก็เกิดขึ้นมาก กากตะกอนของเสียต่างๆในน้ำเสียก็จะเหลือน้อยลงหรือลดลงตามศักยภาพการย่อยสลายของจุลินทรีย์  แต่ในความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถคอนโทรลหรือควบคุมจำนวนหรือปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนให้ได้ตามที่ต้องการ(ในบ่อบำบัดน้ำเสีย) ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในแต่ละช่วงเวลา อาจจะมีปริมาณมากเพียงพอกับการย่อยสลายของเสีย หรืออาจจะมีน้อยกว่าปริมาณของเสีย แต่ส่วนใหญ่ของระบบบำบัดน้ำเสียจะมีปัญหาปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดบ่อยๆ ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated  Sludge ) ระบบบำบัดนี้มีจุดอ่อนหลายจุดด้วยกัน ถ้าการบริหารจัดการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอระบบอาจล้มเหลวได้ง่ายๆ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าหรือหลายๆค่าอาจไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนจะควบคุมค่อนข้างยาก ( ควบคุมไม่ได้ตามที่ต้องการ ) ถ้าออกแบบสิ่งแวดล้อมของระบบบำบัดไม่เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของมันก็จะมีปัญหาระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทัน ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์เป็นประจำหรือบ่อยๆ การนำกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียจึงเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบมีปริมาณน้อย สามารถนำมาทดแทนได้ง่าย

 จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้อย่างไร ? 

สำหรับการบำบัดน้ำเสียไม่ว่าจะใช้กรรมวิธีใดๆก็ตาม ทั้งการตกตะกอน การกรองหยาบ กรองละเอียด การใช้เคมีบำบัด ฯลฯ ซึ่งในน้ำเสียจะมีสิ่งเจือปนและปนเปื้อนของเสียอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ แร่ธาตุต่างๆ สสารทั้งหลายเหล่านี้ขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัดจะต้องถูกย่อยสลายและแปรเปลี่ยนสภาพโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ได้ทั้งนั้น การย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์ย่อยสลายถือว่าเป็นกลไกขั้นตอนสุดท้ายของการแปรเปลี่ยนรูปของสสารให้กลายไปเป็นน้ำและก๊าซต่างๆรวมถึงพลังงานตามสมการด้านล่างของปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลาย

     

ภาพบนเป็นปฏิกิริยาการแปรสภาพของเสียต่างๆโดยกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสีย ทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ผลลัพธ์จากการย่อยสลายก็จะได้ น้ำ + พลังงาน + ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ ตามสมการ บรรดาของเสียต่างๆ (ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต) ที่สลายหรือตายกลายไปเป็นของเสียแล้วจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ซึ่งเป็นกระบวนการย่อยสลายแปรสภาพของสสารขั้นตอนสุดท้าย

ความสำคัญของจุลินทรีย์ย่อยสลายในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย 

ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งและทุกๆระบบ ไม่ว่าน้ำเสียที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมา และไม่ว่าระบบบำบัดนั้นๆจะลงทุนมากหรือลงทุนน้อยเพียงใดก็ตาม ทุกๆระบบที่สร้างขึ้นล้วนต้องใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสิ้น ในการบำบัดและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ถึงแม้ในบางครั้งอาจใช้สารเคมีเข้าร่วมบำบัดด้วยในบางกรณี แต่กระบวนการย่อยสลายขั้นสุดท้ายก็มาจบลงที่จุลินทรีย์ย่อยสลายเหมือนเดิม น้ำเสียที่เกิดขึ้นในทุกๆแห่งล้วนต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียนั้นๆ รวมถึงการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก็ต้องอาศัยจุลินทรีย์ทั้งสิ้น ซึ่งเท่ากับจุลินทรีย์ย่อยสลายเหล่านี้มีคุณประโยชน์ต่อโลกใบนี้ ช่วยพิทักษ์และรักษาไม่ให้ของเสียและน้ำเสียล้นโลกมาจนถึงปัจจุบันนี้ ลดมลพิษและมลภาวะให้กับโลก รักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น

   

ในการย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ต่างๆซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย จุลินทรีย์แต่ละชนิดจะมีความสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ได้ต่างกัน เช่น โปรตีน ไขมัน เป็นต้น อย่างไรก็ดี องค์ประกอบสำคัญที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในกระบวนการหรือปฏิกิริยาการย่อยสลายคือก๊าซ Oxygen (O2) โดยกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์จะได้ CO2 + น้ำ + พลังงาน  การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์และแสงแดดในบ่อ (Lagoon Treatment) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนตามลำดับของการส่งน้ำ ได้แก่ จากบ่อพักให้ตกตะกอน (Sedimentation Pond) บ่อบำบัด (Oxidation Pond) และสิ้นสุดที่บ่อพักสุดท้าย (Polishing Pond) โดยมีบ่อพักให้ตกตะกอนจำนวน 1 บ่อ บ่อบำบัดจำนวน 3 บ่อ และบ่อพักสุดท้ายจำนวน 1 บ่อ ก่อนที่น้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วจะถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ โดยจากการทดลองพบว่า การพักน้ำในบ่อจะใช้เวลาทั้งหมด 7 วัน เพราะหากนานกว่านั้นจะทำให้เกิดภาวะเน่าซ้ำซาก (nutrification) ของน้ำจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ของจุลินทรีย์

น้ำดีและน้ำเสียสามารถแบ่งแยกได้ด้วยการวัดระดับ BOD (Biochemical Oxygen Demand/Biological Oxidation Demand) ซึ่งเป็นปริมาณของ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการนำไปใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ อาทิ สารประกอบ Hydrocarbons (น้ำมันเชื้อเพลิง) แอลกอฮอล์ และน้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น น้ำที่มีค่า BOD ต่ำคือ น้ำที่ดี เพราะจุลินทรีย์ต้องการ O2 จำนวนน้อยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่าค่า BOD จะต้องเท่ากับหรือไม่เกิน 20 mg/l (มิลลิกรัมต่อลิตร)
แต่น้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศยังไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี ทั้งจากส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนทั่วไป  

 

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)ที่เป็นกำลังเสริม เลือกใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า

สำหรับระบบบำบัดที่มีปัญหาดังต่อไปนี้คือ .-

1. ระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียน้อย ( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย) ซึ่งสังเกตได้จากค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ หรือน้ำเริ่มมีกลิ่นเหม็น น้ำเสียเริ่มมีสีดำและมีกลิ่น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดว่า ระบบมีปัญหาจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบมีปริมาณน้อย

2. การเติมอากาศโดยเครื่องเติมอากาศ ( Aerator )ได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด หรือเครื่องเติมอากาศมีกำลังต่ำ กระจายออกซิเจนได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด ซึ่งจะมีผลต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนโดยตรง หรือกรณีเครื่องเติมอากาศเสียรอซ่อม หรือบางแห่งไม่มีการเติมอากาศใดๆเลยก็มี ซึ่งการบำบัดก็จะเกิดขึ้นน้อยมากในกรณีเช่นนี้

3. น้ำเสียมีปริมาณมาก จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายของเสียไม่ทัน จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าไปในระบบด่วน

4. จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด เช่น ค่า DO ในบ่อบำบัดต่ำมาก ในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนเลย หรือกรณีค่า pH สูงหรือต่ำมากๆ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อได้ง่ายๆ

5. ระบบบำบัดล่มบ่อยๆ หรือล้มเหลวเป็นประจำ

6. ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

                     ฯ ล ฯ

สามารถนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่ามาทดแทนเป็นกำลังเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดและย่อยสลายของเสียทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนได้ตลอดเวลา เพิ่มปริมาณมากหรือน้อยตามที่ต้องการได้ทันที 

 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย

จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม Kasama ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียต่างๆและการบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายในน้ำเสีย ( Anaerobic  Bacteria ) ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีหรือไม่มีออกซิเจนก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ซึ่งจะแตกต่างไปจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic  Bacteria ) ซึ่งจะขาดออกซิเจนไม่ได้โดยเด็ดขาด เหตุผลที่ต้องเติมอากาศลงในบ่อบำบัดน้ำเสียก็เพื่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนนี่เอง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถทำงานย่อยสลายของเสียได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน และยังสามารถทำงานแบบร่วมกัน ( ย่อยสลายของเสีย ) กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ดี และมีคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่ง นั่นก็คือ การบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น)ไม่พึงประสงค์ต่างๆ โดยเฉพาะกลิ่นที่เกิดจากสารอินทรีย์ทั้งหลาย ( ทั้งพืชและสัตว์ ) ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้จะไม่มีในกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์หอมคาซาม่าช่วยทั้งเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ส่งผลให้การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย สามารถใช้กับระบบบำบัดได้ทุกๆระบบในประเทศไทย เสริมจุดด้อยและเพิ่มจุดแข็งของระบบบำบัดแบบเติมอากาศที่มีปัญหาปริมาณจุลินรีย์ย่อยสลายมีน้อย หรือการเติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด เครื่องเติมอากาศเสียหรือไม่มีเครื่องเติมอากาศเลย ด้วยการใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าย่อยสลายของเสียทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน

 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเพิ่มประสิทธิภาพและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในจุดใด ? 

เนื่องจากจุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียเหมือนกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ระบบบำบัดทุกๆระบบออกแบบมาเพื่อต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าระบบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียในบ่อบำบัดที่สร้างขึ้นมา ระบบบำบัดในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นระบบบำบัดแบบเติมอากาศ AS ( มากกว่า 90% ) ระบบบำบัดแบบเติมอากาศจะดึงเอาจุลินทรีย์ย่อยสลายในธรรมชาติมาใช้งานย่อยสลายของเสียต่างๆ แต่ไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายให้มีมากเพียงพอกับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงส่งผลให้ของเสียต่างๆบางส่วนในน้ำเสียนั้นๆถูกย่อยสลายได้ไม่หมด ยังคงมีของเสียส่วนหนึ่งตกค้างในระบบบำบัดและผ่านไปยังบ่อพักน้ำทิ้งเพื่อเตรียมปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์อยู่บ่อยๆและเป็นประจำ จะด้วยข้อจำกัดของระบบบำบัดหรือปัญหาอื่นๆที่ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์  จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( ช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสีย ) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียให้เพิ่มขึ้นหรือมากขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง เป็นการบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนกับจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ถือว่าเป็นการบำบัดซ้ำหรือการย่อยสลายซ้ำ ( Double  Treatment ) ส่งผลให้ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้น เป็นปฏิกิริยาการบำบัด 2 ชั้น หรือ 2 ขั้นตอนตามภาพจำลองด้านล่าง ซึ่งจะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์มากหรือน้อยได้ตามความต้องการของผู้ใช้  กรณีที่ของเสียหรือน้ำเสียมีปริมาณมากก็สามารถเติมมากได้ตามความต้องการ เพื่อให้สมดุลกับปริมาณน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง การบำบัดก็จะสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 

    

ภาพบนเป็นภาพจำลองกระบวนการย่อยสลายของเสียด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( บ่อที่ 2 ) และ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนบ่อที่ 1 ) จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียจะเกิดขึ้น 2 ครั้งหรือ 2 จุด ซึ่งระบบบำบัดแบบเติมอากาศทั่วๆไป ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในบ่อเติมอากาศเพียงบ่อเดียวเท่านั้น ( นอกจากมีการเสริมบ่อเติมอากาศเพิ่มขึ้น ) ภาพบนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียในน้ำเสียจะเกิดขึ้นตั้งแต่บ่อแรก ( เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในบ่อแรก ) ก่อนที่จะส่งไปย่อยสลายต่ออีกครั้งในบ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักรอย่อยสลายของเสียที่เหลือในน้ำเสียที่ส่งมาจากบ่อแรก ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายของเสียซ้ำ ( Double  Treatment ) ทำให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียทำได้ดีมากขึ้น ของเสียที่เป็นกากตะกอนส่วนเกินในบ่อสุดท้ายเหลือน้อย ( Excess  Sludge ) นำไปกำจัดทิ้งหรืออาจนำกลับไปบำบัดซ้ำอีกครั้งหรือหลายๆครั้งได้  ซึ่งที่สุดของการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายจะได้ผลลัพธ์เป็นไปตามสมการจำลองด้านล่าง

        

 

จุลินทรีย์หอมคาซาม่าประกอบไปด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายกลุ่มและหลากหลายสายพันธุ์ การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้งานแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ

1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria)
2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria)
3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน (Nitrogen fixing bacteria)
4. กลุ่มจุลินทรีย์แอคทิโนมัยซีทส์ (Actenomycetes)
5. กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ (Yeasts)

  

จำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม , จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียที่มีกลิ่นหอม จุลินทรีย์บำบัดกลิ่นดับกลิ่นที่มีกลิ่นหอม ใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม kasama )  ตอบโจทย์การบำบัดน้ำเสีย & การบำบัดกลิ่นดับกลิ่นกำจัดกลิ่นน้ำเน่าเหม็นในน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที เพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) เสริมประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาได้ทันที โปรดระวังของลอกเลียนแบบของเรา เราไม่ได้อนุญาตให้ใครลอกเลียนแบบทั้งเนื้อหาสาระของเว็บไซต์ ซึ่งผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ มีโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ทั้งจำและปรับ

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา

ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  แกลลอนละ  1,200  บาท

   ขนาดบรรจุ แกลลอน  20   ลิตร ( บรรจุจริง  21.50  ลิตร )

    จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆ ถึงผู้รับภายใน 2-3 วันทำการขนส่ง ( ส่งแบบด่วน )

      สั่งซื้อ กดที่ =>>  ((((((((     http://www.bangkokshow.com/        )))))))))

ที่นี่เราให้คำแนะนำทั้งในเรื่องการบำบัดและปัญหาทางเทคนิคของระบบบำบัด เช่น ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ระบบบำบัดล่มบ่อยๆ  ซึ่งเราเชี่ยวชาญในการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย การแก้ปัญหาระบบบำบัด ฯลฯ  

Reserve Your Trip

Have Questions? Visit Our

bottom of page